สารานุกรม (Encyclopedias) หมายถึงหนังสือที่รวบรวม ความรู้พื้นฐาน เรื่องราวของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เหตูการณ์สำคัญๆ เป็นการอธิบายความรู้ที่ละเอียดพิสดาร อาจจัดเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษรหรือจัดแบ่งตามหมวดวิชาจึงทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูล อาจมีดรรชนีอยู่ท้ายเล่มหรือรวมอยู่เล่มสุดท้ายของชุด เพราะสารานุกรมมีทั้งที่เป็นเล่มเดียวจบหรือเป็นชุดหลายเล่มจบ สารานุกรมสามารถแบ่งได้ ๒ ประเภท คือ
๑. สารานุกรมทั่วไป เป็นสารานุกรมที่ให้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ทุกสาขา ความรู้ที่ปรากฏในตัวเล่มเป็นความรู้อย่างกว้างๆ พอเป็นพื้นฐานสำหรับผู้อ่าน เหมาะสำหรับใช้เป็นแหล่งเริ่มต้นศึกษาค้นคว้า หากต้องการเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ก็สามารถเลือกใช้สารานุกรมเฉพาะวิชา เช่น สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มล่าสุดคือ เล่มที่ ๓๔ พิมพ์ขึ้นใน พ. ศ.๒๕๕๒ มีทั้งหมด ๙ เรื่องคือ เทวสถานโบสถ์พรามณ์ เพลงพื้นบ้าน เครื่องประดับ หอยในประเทศไทย บริการธนาคารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พายุและฝนในประเทศไทย โรคพาร์กินสัน และโรคฉี่หนู
๒. สารานุกรมเฉพาะวิชา เป็นสารานุกรมที่อธิบายความรู้เฉพาะสาขาวิชา ซึ่งจะให้รายละเอียดของเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เช่น สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น